จีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากถึง 1,320 ล้านคน อีกทั้งยังมีชนกลุ่มน้อยอีกจำนวนมาก
มีจำนวนนักเรียนนักศึกษาทั้งประเทศ 320 ล้านคน มีโรงเรียนจำนวน 680,000 โรงเรียน
เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาประมาณ 16 ล้านคน ซึ่งนับเป็นจำนวนที่สูงติดอันดับต้นๆ ของโลก
ดังนั้นรัฐบาลประเทศจีนจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนาด้านการศึกษาของประเทศ
ระบบการศึกษาของจีนวางแผนโดยรัฐบาลกลาง โดยมีกระทรวงศึกษาธิการจีนเป็นหน่วยงาน หลักที่สำคัญที่สุดในการควบคุมดูแลระบบการศึกษา รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องของการบัญญัติ กฎหมาย กำหนดนโยบายและแผนงานด้านการศึกษา ดูแลและวางแผนการพัฒนาระบบการ
ศึกษาจีน ปรับเปลี่ยนนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา ให้เป็นแนวทางเดียว กันทั้งประเทศ การศึกษาภาคบังคับคือการศึกษาในระดับประถมศึกษา 6 ปี และมัธยมศึกษา
ตอนต้น 3 ปี รวมเป็น 9 ปี รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการรับชาวต่างชาติเข้ามาศึกษาในจีน
อย่างมาก ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ปัจจุบันมีนัก เรียนจากประเทศไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในประเทศจีนประมาณ 2,500 คน ระบบการศึกษา ประเทศจีนแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน:
การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง การศึกษาในระดับประถมศึกษา (6 ปี) ระดับมัธยมต้นและ
มัธยมปลาย (6 ปี) เนื่องจากการศึกษาระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาภาคบังคับ ดังนั้น
โรงเรียน ประถมโดยทั่วไปจะเป็นโรงเรียนของรัฐโดยจัดให้นักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียน ใกล้บ้านรัฐบาลจีนพยายามที่จะพัฒนาให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับโอกาสทางการ ศึกษา
อย่างเท่าเทียมกันในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะสร้างศูนย์กลางการศึกษาในเขต พื้นที่ ชนบทการศึกษาระดับมัธยมต้นของจีนมีระยะเวลา 3 ปี
โรงเรียนมัธยมต้นในจีนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งโดยรัฐบาล เนื่องจากยังเป็นการ
ศึกษาภาคบังคับ หลังจากจบการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว นักเรียนต้องสอบเข้าเพื่อ
ศึกษาต่อในระดับมัธยมต้นโดยโรงเรียนที่จะศึกษาต่อจะกำหนดจากที่อยู่และความต้องการ
โดยส่วนตัวของนักเรียนเอง การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจีนแบ่งออกเป็นมัธยม ปลายทั่วไป มัธยมปลายด้านวิชาชีพ และอาชีวศึกษา โดยการศึกษาระดับมัธยมปลายของจีนใช้
เวลา 3 ปี และเป็นระดับการศึกษาที่ไม่บังคับ ดังนั้นนักเรียนจะต้องรับผิดชอบค่าเล่าเรียนเอง
โรงเรียนมัธยมปลายในจีนส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนของรัฐ แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นโรงเรียน เอกชน ทั้งนี้การเข้าเรียนในระดับมัธยมปลายในจีนจำเป็นต้องสอบเข้า โดยดูจากระดับ คะแนนที่สอบได้
2. การศึกษาด้านวิชาชีพ:
การศึกษาด้านวิชาชีพ หมายถึง โรงเรียนด้านวิชาชีพ รวมถึงหลักสูตรอบรมวิชาชีพระยะสั้น ปัจจุบันสถานการณ์การเติบโตของการศึกษาด้านอาชีพมีการเปลี่ยนแปลงคือ การศึกษาด้าน เศรษฐกิจการคลัง พลศึกษา ศิลปกรรม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ มีแนวโน้มลดลง
3. การศึกษาระดับอุดมศึกษา:
การศึกษาระดับอุดมศึกษา หมายถึง การศึกษาระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท รวมถึงการศึกษาระดับปริญญาเอก การศึกษาระดับอุดมศึกษาของจีนมีการพัฒนาอย่างต่อ เนื่อง ภายหลังปี 1981 เป็นต้นมา จีนได้เริ่มจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามแบบสากลทั่วไป ที่ชัดเจน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยในจีนมีจำนวนประมาณ 3,000 แห่ง โดย 2 ใน 3 เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
และ 1 ใน 3 เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน การเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยของจีนจำเป็นต้องผ่านการ สอบเข้าศึกษา โดยดูจากระดับคะแนนในการสอบ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในจีนส่วนใหญ่จะ เป็น มหาวิทยาลัยของรัฐ
4. การศึกษาผู้ใหญ่:
การศึกษาผู้ใหญ่ หมายถึง การศึกษาประเภทต่างๆ ที่จัดขึ้นสำหรับผู้ใหญ่และผู้ไม่รู้หนังสือหรือ การศึกษาอื่นที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน การศึกษาผู้ใหญ่ในระดับสูงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปี 1999 มีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาสำหรับการศึกษาผู้ใหญ่จำนวน 871 แห่ง และยังมีอีก 800 กว่าแห่งที่เปิดการศึกษาทางไปรษณีย์ และการศึกษาภาคค่ำ
ข้อมูลจากwww.prointered.com
|